โครงการพระราชดำริด้านสาธารณสุข (โครงการพลังชุมชนรวมใจสร้างสุขภาพดี ด้วยวิถีแพทย์แผนไทย) 2566
โครงการพระราชดำริด้านสาธารณสุข (โครงการพลังชุมชนรวมใจสร้างสุขภาพดี ด้วยวิถีแพทย์แผนไทย)
2. หลักการและเหตุผล
การแพทย์แผนไทย (Thai traditional medicine) เป็นภูมิปัญญาไทยในการดูแลรักษาสุขภาพมาเป็นระยะเวลานาน เป็นระบบการแพทย์ที่เกิดจากการเรียนรู้ การสั่งสมความรู้ ประสบการณ์ การถ่ายทอด และการผสมผสานกับการแพทย์ท้องถิ่นและระบบการแพทย์อื่นที่เข้ามาสู่สังคมไทย ในสมัยต่าง ๆ จนกลายมาเป็นระบบการแพทย์แผนไทย ซึ่งเป็นการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม โดยเน้นความสมดุลภายในจิตใจ
เมื่อทบทวนกระแสพระราชดำรัส ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดช
มหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ในเรื่องเศรษฐกิจพอพียงในด้านความพอดี พอควรสมเหตุสมผลและมี
ความสมดุลเพื่อความสุขและสุขภาพดี เมื่อเจ็บป่วยควรได้รับการรักษาอย่างสมเหตุสมผล มีภูมิคุ้มกัน พึ่งพิง
ดูแลตัวเองและคนในครอบครัวได้ยั่งยืน การส่งเสริมสนับสนุนให้ลูกหลานในครัวเรือนได้มีความรู้ในการดูแล
สุขภาพที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตคนไทย โดยใช้การแพทย์แผนไทยหรือใช้ภูมิปัญญา เช่น การใช้อาหารพืชผัก
สมุนไพร การนวดพื้นฐานในการประคบ การนวดฝ่าเท้า การบริหารด้วยท่าฤาษีดัดตน มาปฏิบัติดูแลสุขภาพ
คนในครัวเรือน ก็จะเป็นอีกวีหนึ่งที่จะทำให้ครอบครัวมีทางเลือกเพิ่มขึ้น ลดปัญหาการใช้ยาแผนปัจจุบัน ขณะ
เดียวกันภูมิปัญญาไทยในอดีตมีมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ปู่ ย่า ตา ยาย ก็มีการใช้ต่อเนื่องกันมาหลายชั่วอายุคน
ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าสามารถบรรเทาอาการเจ็บป่วยได้อย่างดีทั้งยังไม่มีอาการข้างเคียงและยังเป็นการช่วย
ลดค่าใช้จ่ายของครัวเรือนและประเทศชาติอีกด้วย นอกจากนี้การนวดประคบสมุนไพร การนวดเท้าและการ
รับประทานอาหารตามหลักธาตุเจ้าเรือนนำมาใช้ดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังในครัวเรือน ก็จะเป็นการสร้างความ
สัมพันธ์ที่ดีจากการสัมผัสอย่างใกล้ชิดทำให้เกิดสายใยรักอบอุ่น ส่งผลให้ผู้ป่วยมีสุขภาพจิตดีด้วย
องค์การบริหารส่วนตำบลซึ่งมีหน้าที่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 (และแก้ไขเพิ่มเติมจนถึงฉบับที่ 6 พ.ศ. 2552 ) หมวดที่ 2 ส่วนที่ ๓ อํานาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตําบล มาตรา 66 องค์การบริหารส่วนตําบลมีอํานาจหน้าที่ในการพัฒนาตําบลทั้งในด้าน เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม มาตรา 67 ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย องค์การบริหารส่วนตําบลมีหน้าที่ต้องทําในเขตองค์การบริหารส่วนตําบล ดังต่อไปนี้ (3) ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะปันหยี ได้เล็งเห็นและตระหนัก ถึงความสำคัญของโครงการ ที่มุ่งเน้นการเสริมสร้าง สนับสนุน ให้ประชาชนมีความรู้ มีภาวะสุขภาพที่ดี จึงได้จัดทำโครงการพระราชดำริด้านสาธารณสุข (โครงการพลังชุมชนรวมใจสร้างสุขภาพดี ด้วยวิถีแพทย์แผนไทย)
3.วัตถุประสงค์ของโครงการ
1. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจในการนำภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย มาใช้ประโยชน์ในการดูแลสุขภาพคนในครอบครัวและชุมชนได้
2. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถดูแลสุขภาพของตนเองและคนใกล้ตัวได้อย่างถูกต้องและปลอดภัยด้วยภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย
3. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการเป็นที่พึ่งพิงด้านสาธารณสุขของเพื่อนร่วมหมู่บ้านได้
4. กลุ่มเป้าหมาย
- อสม. และประชาชน หมู่ที่ 1 บ้านท่าด่าน จำนวนทั้งสิ้น 40 คน
5.ขั้นตอนและวิธีดำเนินการ
5.1 จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติงบประมาณ
5.2 ดำเนินการตามโครงการ
- ติดต่อประสานงานกลุ่มเป้าหมายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- ประชาสัมพันธ์ให้ผู้ที่สนใจรับทราบและเห็นความสำคัญของการอบรม
- จัดเตรียมสถานที่ในการจัดโครงการ
- จัดซื้อจัดจ้างวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็น
จัดกิจกรรมตามโครงการ
5.2.1 กิจกรรมให้ความรู้
- การใช้สมุนไพรใกล้ตัวรักษาโรค
5.2.1 กิจกรรมฝึกปฏิบัติ
- สอนและสาธิต การทำลูกประคบสมุนไพร และการทำพิมเสนน้ำสมุนไพร
5.3 สรุปและประเมินผลการจัดโครงการ/รายงานผลการดำเนินโครงการ
6.สถานที่ดำเนินการ
ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะปันหยี หมู่ที่ 1 บ้านท่าด่าน ตำบลเกาะปันหยี อำเภอเมือง จังหวัดพังงา
7.ระยะเวลาดำเนินการ
วันที่ 5 เดือนกันยายน พ.ศ. 2566
8.หน่วยงานที่รับผิดชอบ
สำนักปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะปันหยี
9.งบประมาณ
จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕66 องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะปันหยี อำเภอเมือง จังหวัดพังงา สำนักปลัด แผนงานสาธารณสุข งานบริการสาธารณสุขและงานสาธารณสุขอื่น งบดำเนินงาน หมวดค่าใช้สอย ประเภทรายจ่ายเกี่ยวเนื่องกับการปฏิบัติราชการที่ไม่เข้าลักษณะรายจ่ายหมวดอื่นๆ โครงการพระราชดำริด้านสาธารณสุข (โครงการพลังชุมชนรวมใจสร้างสุขภาพดี ด้วยวิถีแพทย์แผนไทย) งบประมาณที่ตั้งไว้ 20,๐๐๐.-บาท รายละเอียดค่าใช้จ่ายตามเอกสารแนบท้าย
10. การติดตามและประเมินผล
- จากแบบประเมินของผู้เข้าร่วมโครงการ
11. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจในการนำภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย มาใช้ประโยชน์ในการดูแลสุขภาพคนในครอบครัวและชุมชนได้
2. ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถดูแลสุขภาพของตนเองและคนใกล้ตัวได้อย่างถูกต้องและปลอดภัยด้วยภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย
3. ผู้เข้าร่วมโครงการเป็นที่พึ่งพิงด้านสาธารณสุขของเพื่อนร่วมหมู่บ้านได้